
น้ำ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง! แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยรู้สึกถึง ความ "พิเศษ" ของน้ำเท่าใดนัก
อาจเป็นเพราะวิถีชีวิตของเราเกี่ยวข้องกับน้ำมาโดยตลอด เราดื่มน้ำ ใช้น้ำ สัมผัสอยู่กับน้ำทุกวัน (ช่วงนี้อาจจะได้สัมผัสมากหน่อย)
เราจึงเห็นน้ำเป็นของธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไปและไม่ตระหนักถึงความสำคัญมันมากนัก จวบจนเมื่อภัยแล้งหรืออุทกภัยมาเยือน
สำหรับนักวิทยาศาสตร์
น้ำเป็นสารเคมีที่แสนประหลาด
สารเคมีที่มีสูตรว่า H2O อันแสนเรียบง่ายนี้
กลับมีคุณสมบัติที่น่าพิศวงมากมาย คุณสมบัติบางอย่างเราพบเห็นอยู่บ่อยๆ
แต่ไม่ค่อยทราบว่านั่นเป็นคุณสมบัติที่พบเห็นได้ยากยิ่ง
ตัวอย่างเช่น
**น้ำ ปรากฏอยู่ในธรรมชาติพร้อมกันทั้ง 3 สถานะ
แม้ดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เราสามารถพบน้ำที่เป็นเหลว น้ำแข็ง และไอน้ำได้พร้อมๆ กัน แต่สสารส่วนใหญ่ในโลกมักอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่ง ตามอุณหภูมิและปัจจัยอื่นๆ เช่น เหล็กเป็นของแข็ง ปรอทเป็นของเหลว ออกซิเจนเป็นก๊าซมีเพียงน้ำเท่านั้นที่ปรากฏทั้ง 3 สถานะ อยู่ด้วยกันในธรรมชาติ
.jpg)
**น้ำ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงมากเมื่อเทียบกับสารอื่นที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน เราทราบดีว่าจุดหลอมเหลวของน้ำคือ 0 องศาเซลเซียส และจุดเดือดคือ 100 องศาเซลเซียส
**น้ำ
มีความจุความร้อน (Cp) สูง
แม้จะไม่เป็นที่สุดแต่ก็ติดอันดับต้นๆ
นั่นหมายถึง น้ำสามารถดูดซับพลังงานความร้อนไว้ได้มาก
โดยที่อุณหภูมิเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย สังเกตได้จากเวลาเดินชายหาด
ทรายที่โดนแดดส่องอาจร้อนจนแทบเดินเหยียบไปไม่ได้ แต่ในทะเล น้ำยังเย็นสบายอยู่
ทั้งที่ได้รับพลังงานจากแสงแดดพอๆ กันนอกจากจะดูดซับความร้อนได้มากแล้วยังถ่ายเทความร้อนได้เร็วด้วย
เราสามารถใช้ชามกระดาษใส่น้ำแล้วตั้งไฟต้มจนน้ำเดือดได้ โดยที่ชามกระดาษไม่ไหม้ไฟ
ทั้งนี้เพราะน้ำดึงความร้อนจากชามกระดาษไปก่อนที่จะทำให้กระดาษติดไฟ
**น้ำ
มีปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่อกลายเป็นของแข็ง
สังเกตเห็นได้เวลาแช่ขวดน้ำที่ปิดสนิทในช่องแช่แข็งนานๆ
น้ำแข็งจะดันจนทะลักจากขวดหรืออาจดันขวดแตกการขยายตัวของน้ำแข็งเกิดจากโมเลกุลของน้ำขยับห่างออกจากกันเล็กน้อยเพื่อสร้างผลึกที่เป็นระเบียบ
การจัดเรียงผลึกนี้ยังทำให้เกิดโครงสร้างรูปหกเหลี่ยมอันวิจิตรพิสดารของเกล็ดหิมะด้วย
แม้เราจะเห็นว่าน้ำแข็งขยายตัวได้บ่อยๆ แต่คุณสมบัตินี้แทบไม่พบในสารอื่นเลย
เท่าที่ทราบตอนนี้มีเพียงซิลิกอนเหลวที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน
**น้ำ
มีแรงตึงผิวสูงมาก
ผิวหน้าของน้ำมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันสูงทำให้วัตถุแทรกตัวผ่านผิวน้ำได้ยากกว่าของเหลวอื่น
แม้แต่หยดน้ำก็ยังต้องผ่านแรงตึงผิวลงไปก่อน มองด้วยตาเปล่าอาจจะไม่เห็นเห็น
แต่ภาพจากกล้องความเร็วสูงแสดงให้เห็นว่าเมื่อหยดน้ำกระทบผิวน้ำ
พื้นผิวจะยุบตัวลงก่อนจะเด้งกลับไป มีน้ำเพียงบาง่สวนเท่านั้นที่รวมเข้ากับผิวน้ำ
กระบวนการนี้เกิดซ้ำไปซ้ำมาแต่ตาเราไม่ไวพอจึงมองเห็นเพียงการกระเพื่อมของน้ำ แมลงจิงโจ้น้ำ
(water strider) อาศัยแรงตึงผิวทำให้สามารถเดินไปมาบนผิวน้ำได้โดยไม่จมลงไป
หรือแม้แต่กิ้งก่าเมื่อวิ่งเร็วๆ ก็สามารถวิ่งไปบนผิวน้ำได้ แต่สำหรับคน
ต้องวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 105 กิโลเมตร/ชั่วโมง
จึงจะไม่จมน้ำขณะวิ่ง แรงตึงผิวนี้เป็นผลจาก พันธะไฮโดรเจน
ซึ่งเป็นแรงที่ยึดเหนี่ยวแต่ละโมเลกุลของน้ำไว้ด้วยกันอีกที
พันธะไฮโดรเจนจะเกิดขึ้นระหว่างไฮโดรเจนกับออกซิเจนหรือไนโตรเจนที่ยังว่างอยู่เท่านั้น
สารเคมีส่วนใหญ่ไม่มีองค์ประกอบ 2 อย่างนี้ จึงไม่เกิดพันธะไฮโดรเจน
ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่า

แรงตึงผิวนี้ยังยึดเหนี่ยวระหว่างผิวน้ำกับขอบภาชนะด้วย
สังเกตได้จากผิวน้ำในหลอดดูดจะโค้งเว้าเล็กน้อยไปตามผิวหลอด
หากหลอดมีขนาดเล็กลงมากๆ
แรงดึงดูดระหว่างขอบกับน้ำจะสามารถดึงน้ำขึ้นไปด้านบนได้เลย
แรงดึงนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่าแรงแคปิลารี
(capillary) ซึ่งเป็นแรงที่ดึงให้น้ำไหลผ่านไปตามท่อลำเลียงขนาดจิ๋วของพืชขึ้นไปหล่อเลี้ยง
กิ่ง ก้าน ใบ ที่อยู่สูงเป็น 10 เมตรได้ ไม่มีของเหลวอื่นๆ
ในอุณหภูมิห้องที่มีแรงตึงผิวมากขนาดนี้ ยกเว้นปรอท
**น้ำเป็นตัวทำละลายได้สารพัด
เราคุ้นเคยกับการใช้น้ำชงกาแฟหรือชากินบ่อยๆ
ทั้งนี้เพราะสารเคมีส่วนใหญ่ละลายได้ในน้ำ ละลายได้มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป โดยทั่วไปสารที่มีขั้วเช่นเกลือ
หรือน้ำตาลจะละลายน้ำได้ดี ส่วนสารไม่มีขั้วอย่างน้ำมันจะละลายได้เพียงเล็กน้อย แม้แต่หินหรือทรายที่ดูเหมือนไม่ละลายน้ำ
แต่หากแช่ไว้นานๆ ก็จะมีแร่ธาตุละลายออกมาทีละเล็กทีละน้อย
ด้วยเหตุนี้ในทะเลจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุมหาศาลในสัดส่วนต่างๆ กัน การที่น้ำสามารถโอบอุ้มสารเคมีจำนวนมากไว้ได้ทำให้
สารเคมีหลายชนิดมีโอกาสรวมตัวกัน
เกิดปฏิกิริยากลายเป็นสารที่มีองค์ประกอบซับซ้อนขึ้นได้
**น้ำ จึงเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
หากไม่มีน้ำสารที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีน
ไขมัน ดีเอ็นเอ คงไม่อาจมารวมกัน แล้วก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตขึ้นได้
อีกทั้งคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมายังทำให้น้ำเป็นสารเคมีที่เหมาะสมในการหล่อเลี้ยงชีวิตน้ำ
ดูดซับความร้อน และช่วยรักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกาย แรงตึงผิวช่วยลำเลียงน้ำและสารอาหารไปยังยอดไม้
และความสามารถในการละลายทำให้น้ำบรรจุสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ได้ในคราวเดียว
นอกจากนี้ยังทำให้ปฏิกิริยานับพันนับหมื่นในร่างกายสามารถเกิดขึ้นพร้อมๆ กันได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เมื่อไปสำรวจดาวต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์จึงมองหาแหล่งน้ำก่อน
เพราะสารเคมีที่สนับสนุนให้เกิดระบบสิ่งมีชีวิตได้นั้นมีน้อยเต็มที แม้จะมีความเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตต่างดาวอาจมีรูปแบบที่ต่างออกไป
แต่การมองหาน้ำก่อนก็ช่วยจำกัดวงในการค้นหาได้มาก เพราะหากมีน้ำอยู่
ย่อมมีโอกาสสูงทีเดียวที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้น
ที่มา : วิชาการดอทคอม (สืบค้นวันที่ 14/02/2552)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น